แครนเบอร์รี่ (Cranberry) PAC-A 36 mg กับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคยอดฮิตของผู้หญิง
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (urinary tract infection หรือ UTI) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หนึ่งในโรคยอดฮิตของผู้หญิง จริงๆแล้วโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อทางเดินปัสสาวะที่สั้น เชื้อโรคจึงสามารถเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
สาเหตุของโรคเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- การอั้นปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน จนเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
- การทำความสะอาดหลังการขับถ่ายไม่ถูกวิธีเช่น การเช็ดทำความสะอาดอวัยวะจากด้านหลังมาด้านหน้า ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่บริเวณทวารหนัก หรือที่รู้จักกันในชื่อว่าเชื้อ E.Coli (Escherichia coli) สามารถปะปนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในวัยหมดประจำเดือน ทำให้เยื่อบุท่อปัสสาวะขาดความชุ่มชื้น และทำให้การป้องกันการติดเชื้อลดลง
- ผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำทำให้ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย
แครนเบอร์รี่ (Cranberry) กับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
แครนเบอร์รี่ (Cranberry) จัดเป็นซุปเปอร์ฟู้ดส์ (Superfood) จากธรรมชาติชนิดหนึ่ง ในแครนเบอร์รี่อุดมไปด้วย
- สารโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidins หรือ PAC)
- สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti Oxidant)
- วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะ วิตามีนซี วิตามินอี
สารโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidins หรือ PAC) ในแครนเบอร์รี่คือสารออกฤทธิ์สำคัญ ที่ทำให้เชื้อแบคทีเรีย E.Coli ไม่สามารถยึดเกาะกับผนังของกระเพาะปัสสาวะได้ ทำให้ช่วยลดโอกาสในการกลับมาเกิดซ้ำของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อย่าเพิ่งรีบออกไปหาซื้อผลแครนเบอร์รี่หรืออาหารเสริมแครนเบอร์รี่มาทานกัน อ่านต่อตรงนี้กันก่อน
จากงานวิจัยต่างๆ พบว่า สารโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidins หรือ PAC) ชนิด Type A (PAC-A) เป็นสารชนิดที่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดการยึดเกาะของเชื้อแบคทีเรีย E.Coli ได้ดี และมีแค่แครนเบอร์รี่สายพันธุ์ Vaccinium Macrocarpon ซึ่งเป็นแครนเบอร์รี่สายพันธุ์จากประเทศอเมริกาเท่านั้น ที่มี Proanthocyanidin ชนิด Type A มากที่สุด และปริมาณของ PAC-A ที่แนะนำคือ 36-72 mg ต่อวัน
นอกจากนี้ การเลือกผลิตภัณฑ์แครนเบอร์รี่ ควรเลือกแบบชนิดที่มีกระบวนการผลิตที่สามารถคงคุณค่าของสารสำคัญต่างๆ ไว้ได้ เช่น การใช้กระบวนการการสกัดแบบเย็น (Dry Extract) รวมถึงควรเลือกแบบที่มีปริมาณ PAC-A ไม่น้อยกว่า 36 mg ต่อหนึ่งเม็ด
ลิ้งค์สำหรับงานวิจัย
ปริมาณของแครนเบอร์รี่สกัดที่มีผลต้านการเกาะของเชื้อ Escherichia coli ในกระเพาะปัสสาวะ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2873556/
แครนเบอร์รี่ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำในสตรีที่มีสุขภาพแข็งแรง
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0022316622106334
โปรแอนโธไซยานิดินยับยั้งการเกาะผนังกระเพาะปัสสาวะของเชื้อ E. coli ที่ดื้อต่อยาหลายชนิด
https://link.springer.com/article/10.1007/s00240-011-0398-2